สถานการณ์ในฉนวนกาซาที่ทวีความตึงเครียดจากเหตุโจมตีโรงพยาบาล ส่งผลให้ภารกิจทางการทูตของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยากลำบากมากกว่าเดิมและมีเดิมพันที่สูงยิ่งกว่าเดิม หลังชาติอาหรับที่มีบทบาทในการคลี่คลายความขัดแย้งได้ ประกาศยกเลิกกำหนดหารือกับสหรัฐฯ
วันนี้ (18 ต.ค.) เป็นวันที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู พร้อมกับคณะรัฐมนตรีด้านสงครามของอิสราเอล มีกำหนดพบปะหารือกันที่กรุงเทล อาวีฟ ประเทศอิสราเอล
“ไบเดน” ถึงอิสราเอลแล้ว สวมกอด “เนทันยาฮู” พบปะครอบครัวเหยื่อ เหตุฮามาสบุกโจมตี
ชาวอเมริกันเชื้อสายปาเลสไตน์ฟ้องรบ.ไบเดน ล้มเหลวอพยพพลเมืองในกาซา
จุดประสงค์หนึ่งที่ผู้นำสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนอิสราเอลในครั้งนี้คือ เพื่อแสดงการสนับสนุนอิสราเอลในการปราบปรามกลุ่มฮามาส แต่การถอนรากถอนโคนฮามาสในฉนวนากซ่ามีข้อจำกัด นั่นก็คือ พลเรือน 2.3 ล้านคนที่อยู่ในนั้น การปฏิบัติการทางการทหารอาจเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ต่อชีวิตพลเรือน อีกหนึ่งภารกิจของผู้นำสหรัฐฯ คือ การโน้มน้าวให้มีการเปิดเส้นทางมนุษยธรรม
โดยนอกจากอิสราเอลแล้ว อีกชาติที่ต้องให้ความร่วมมือในเรื่องนี้คืออียิปต์ ในฐานะผู้ควบคุมช่องทาง Rafah ซึ่งเป็นทางเดียวที่เข้าฉนวนกาซาได้ในขณะนี้ ประเด็นที่ต้องคุยกับอิสราเอลคือ ต้องไม่โจมตีบริเวณดังกล่าวหากอียิปต์เปิดด่าน Rafahให้
จุดประสงค์ของการเปิดเส้นทางมนุษยธรรมคือ เพื่อให้สิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปฉนวนกาซาได้ และให้พลเรือนที่อยู่ในนั้นสามารถอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย นี่คือเหตุผลที่ผู้นำสหรัฐฯ ต้องไปที่กรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน หลังพบกับผู้นำอิสราเอล
ที่กรุงอัมมาน กำหนดการหารือจะมี 4 ฝ่าย ร่วมกับสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ และประธานาธิบดีอับดุล ฟัตตาห์ อัลซีซีของอียิปต์ ที่ต้องมีกษัตริย์จอร์แดนและประธานาธิบดีอับบาสซึ่งเป็นผู้นำของปาเลสไตน์ในเขต West Bank เพราะหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงหรือสงครามขยายไปเขต West Bank
จอร์แดนซึ่งมีพรมแดนติดกับ West Bank จะต้องเปิดพรมแดนรับผู้ลี้ภัยก่อนหน้านี้ทั้งจอร์แดนและอียิปต์ออกมายืนยันหนักแน่นว่าไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยได้แล้วในกรณีของจอร์แดน ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่หนีจากสงครามในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาถึงกว่า 2.3 ล้านคนแล้ว
อย่างไรก็ตาม เหตุโจมตีโรงพยาบาลครั้งใหญ่ในฉนวนกาซา จนส่งผลให้มีพลเรือนบริสุทธิ์เสียชีวิตมากกว่า 500 รายเมื่อคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ภารกิจทางการทูตของประธานาธิบดีไบเดนครั้งนี้ซับซ้อนและยากลำบากขึ้นอย่างมาก เพราะหลังจากนั้น ผู้นำจอร์แดน อียิปต์ และปาเลสไตน์ได้ออกมายกเลิกการประชุมร่วมกับสหรัฐฯ
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนออกมาว่าฝ่ายใดเป็นผู้โจมตีใส่โรงพยาบาลในฉนวนกาซากันแน่ แต่หลายฝ่ายมองว่าภารกิจทางการทูตของไบเดนจะยากขึ้นอย่างมาก แดเนียล ซี. เคิร์ตเซอร์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำอิสราเอลวิเคราะห์ว่า เนื่องจากไม่มีทางที่บรรดาชาติอาหรับจะเชื่อว่า อิสราเอลไม่ได้เป็นผู้ลงมือโจมตีจริง
เหตุที่เกิดขึ้นเพิ่มความโกรธและความไม่พอใจที่ชาติอาหรับมีต่อสหรัฐฯ อยู่แล้วเนื่องจากชาติอาหรับมองว่า สหรัฐฯ นิ่งเฉยต่อความเจ็บปวดที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญหลังอิสราเอลประกาศปิดล้อมและโจมตีทางอากาศเข้าไปในฉนวนกาซา
นอกจากนั้นยังมองว่า สหรัฐฯ สนับสนุนปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มฮามาสของอิสราเอลอย่างมาก และยังไม่ประณามการกระทำของอิสราเอลต่อฉนวนกาซา หรือยังไม่เคยออกมาปรามการโจมตีตอบโต้ของอิสราเอล
คำถามคือ ท่ามกลางสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงและไม่แน่นอนเช่นนี้ สหรัฐฯ จะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลดความตึงเครียดของสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาส
ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงพยายามหาทางเพื่อให้แผนความช่วยเหลือมนุษยธรรมเกิดขึ้นจริงอีกประเด็นหนึ่งที่คาดว่าสหรัฐฯ จะสามารถมีบทบาทและมีอิทธิพลต่ออิสราเอลได้คือ ยุทธศาสตร์และแนวทางของปฏิบัติการภาคพื้นดินต่อฉนวนกาซาเพื่อกำจัดกลุ่มฮามาส
ซึ่งนักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่ามีโอกาสที่ปฏิบัติการดังกล่าวจะนำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ ที่ผ่านมามีสัญญาณออกมาว่าประธานาธิบดีไบเดนอาจใช้โอกาสพบนายกเนทันยาฮูครั้งนี้เพื่อกำหนดความเข้าใจร่วมกันว่า ขอบเขตการทำสงครามของอิสราเอลควรอยู่ตรงไหน โดยรายงานจาก CNN ที่อ้างคำสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยว่า สหรัฐฯ ต้องการให้แผนการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมเกิดขึ้นและนำไปใช้ในฉนวนกาซาก่อนที่อิสราเอลจะเปิดปฏิบัติการภาคพื้นดิน
อีกความเห็นหนึ่งที่น่าสนใจมาจาก ริชาร์ด แฮสส์ ประธานกิตติคุณแห่งสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ Council on Foreign Relations โดยแฮสส์มองว่า ประธานาธิบดีไบเดนควรใช้โอกาสนี้โน้มน้าวนายกเนทันยาฮูว่า การบุกฉนวนกาซาและการยึดครองดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจของปาเลสไตน์ไม่ใช่นโยบายที่ยั่งยืนและส่งผลดีในระยะยาวต่ออิสราเอล
และต้องใช้โอกาสนี้ในการกล่าวต่อสาธารณชนอิสราเอลเพื่อแยกว่าชาวปาเลสไตน์ผู้บริสุทธิ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฮามาส เพราะนั่นจะมีผลต่อมุมมองในการมองสงครามครั้งนี้ของประชาชนอิสราเอล
ล่าสุดระหว่างพบผู้นำอิสราเอลประธานาธิบดีไบเดนได้กล่าวว่า จะอยู่เคียงข้างอิสราเอลในการปราบปรามกลุ่มฮามาสแต่ในขณะที่อิสราเอลมีสิทธิป้องกันตนเอง ก็ต้องไม่ลืมว่ากลุ่มฮามาสไม่เท่ากับชาวปาเลสไตน์ทั้งหมดคำพูดจาก เป๋าเงินจริงสำ
อ.เจษฎา ออกมาไขคำตอบ ทำไม? เทสลา ถึงแจ้งเตือน "ผี" ได้
รู้จัก "Super App" แอปฯครบวงจร รองรับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ประกาศเตือนฉบับที่ 4 พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น!